รากเทียม


             การทำรากฟันเทียม

      คือ การทำรากฟันใหม่ขึ้นทดแทนฟันที่สูญเสียไป เพื่อให้สามารถมีฟันเสมือนจริงได้ดังเดิม โดยการฝังรากฟันเทียมไทเทเนียมลง

      บนกระดูกรองรับฟันเพื่อเป็นฐานให้แก่ฟันที่จะสร้างขึ้นมาใหม่ซึ่งอาจเป็นสะพานฟันหรือฟันปลอมทำให้ฐานของฟันมั่นคงมากยิ่งขึ้น


             ประโยชน์ที่ได้จากการทำรากเทียม
     1. ช่วยเพิ่มความมั่นใจและช่วยบุคลิกภาพดูดียิ่งขึ้น เนื่องจากหากมีฟันที่สูญเสียไป
         อาจทำให้คุณสูญเสียความมั่นใจในตัวเองไปด้วย ซึ่งอาจเกิดจากภาพลักษณ์ของคุณเปลี่ยนไป
     2. ดูเด็กลงแบบเป็นธรรมชาติ
     3. ไม่ต้องกรอฟันเพื่อใช้ยึดสะพานฟัน
     4. ทำให้มีการใช้งานที่ดีขึ้นกว่าการทำเฉพาะสะพานฟันหรือฟันปลอมถอดได้
     5. ทดแทนฟันแท้ที่สูญเสียไป
     6. การทานอาหารง่ายขึ้น ระบบการบดเคี้ยวดีขึ้น
     7. เลียนแบบโครงสร้างฟันธรรมชาติ (ใช้งานและสวยงามเหมือนฟันธรรมชาติ)

   

ผู้ที่ควรเข้ารับการรักษา

    1. ผู้ที่มีการสูญเสียฟันซี่ใดซี่หนึ่ง หรือหลายซี่
    2. ผู้ที่ไม่ต้องการใส่ฟันปลอมหรือมีความกังวลเกี่ยวกับการสวมใส่ฟันปลอม
    3. ผู้ที่มีปัญหาหรือจุดบกพร่องทางสุขภาพปาก อันเนื่องเกิดจากโรค
        การทำศัลยกรรม หรือได้รับบาดเจ็บทางปากและฟัน


ผู้ที่ไม่เหมาะเข้ารับการรักษา

    1. ผู้ที่มีความพิการหรือเป็นโรคที่ไม่สามารถควบคุมได้
    2. หญิงมีครรภ์
    3. ผู้ที่อยู่ระหว่างการรักษาอาการทางจิต
    4. ผู้ไม่ให้ความร่วมมือกับการรักษา
    5. ผู้ที่ขาดกล้ามเนื้อที่ประสานกันเพื่อจัดการขั้นตอนการทำความสะอาดในช่องปาก

           ขั้นตอนในการทำรากเทียม

ขั้นตอนแรก : ตรวจวินิจฉัยและวางแผนการรักษา

ก่อนเริ่มการรักษาทันตแพทย์จะทำการตรวจวินิจฉัยและทำการถ่ายเอ๊กซเรย์เพื่อการวิเคราะห์และ
วางแผนการรักษาที่เหมาะสม

ขั้นตอนที่สอง : การปลูกกระดูกรองรับฟัน (กรณีที่จำเป็น)

สำหรับผู้ป่วยบางรายที่มีคุณภาพหรือความหนาของกระดูกรองรับฟันที่ไม่เพียงพอที่จะรองรับ
รากฟันเทียม ทันตแพทย์จะทำการปลูกกระดูกรองรับฟัน (bone grafts) ให้ก่อน หรืออาจสามารถ                                   ทำพร้อมกับการฝังรากฟันเทียม ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของทันตแพทย์เฉพาะทาง

ขั้นตอนที่สาม : ขั้นตอนการผ่าตัดฝังรากฟันเทียมไททาเนียม

สำหรับขั้นตอนการผ่าตัดฝังรากฟันเทียมนั้น โดยทั่วไปจะสามารถทำเสร็จได้ในวันเดียวด้วยการใช้เพียงยาชา ในการผ่าตัดและผู้ป่วยสามารถกลับไปพักผ่อนที่บ้านได้ หรือในกรณีที่ผู้ป่วยต้องการที่จะเลือกใช้ยาสลบและพักผ่อนที่โรงพยาบาลหลังการผ่าตัดก็เป็นทางเลือกที่สามารถทำได้เช่นกัน และถ้าได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง โดยทันตแพทย์เฉพาะทางที่มีความเชี่ยวชาญแล้วนั้นอัตราการเสี่ยงจะต่ำมาก

ขั้นตอนที่สี่ : ระยะรอพักฟื้น

ในการที่จะให้รากฟันเทียมมีอายุการใช้งาน การพักรอให้กระดูกรองรับฟันสร้างตัวเพื่อปกคลุมและ
ยึดรากฟันเทียมจะใช้เวลาโดยทั่วไปนานประมาณ 6-8 สัปดาห์

ในระหว่างนี้การดูแลสุขภาพในช่องปากเป็นเรื่องสำคัญและมีผลต่อความสำเร็จในการรักษาเป็น
อย่างมาก และยังช่วยหลีกเลี่ยงปัญหาอันไม่พึงประสงค์ต่างๆเช่น การติดเชื้ออักเสบและปวดบวมได้

ขั้นตอนที่ห้า : ทันตกรรมประดิษฐ์

หลังจากที่รากฟันเทียมมีความมั่นคงบนกระดูกรองรับฟันแล้ว ทันตแพทย์จะติดเสา
(dental implant posts) เพื่อใช้เชื่อมระหว่างรากเทียมและทันตกรรมประดิษฐ์เช่น 
ครอบฟัน สะพานฟันหรือแผงฟันปลอม แล้วจึงทำการเตรียมและใส่ทันตกรรมประดิษฐ์นั้นๆ

ในบางกรณีทันตแพทย์อาจสามารถทำการขั้นตอนนี้พร้อมกับการปลูกรากฟันเทียม ซึ่งทั้งนี้ขึ้นอยู่
กับความเหมาะสมและดุลยพินิจของทันตแพทย์

ขั้นตอนสุดท้าย : การดูแลและเข้ารับการตรวจอย่างสม่ำเสมอ

สุขภาพในช่องปากที่ดีและการเข้ารับการตรวจและทำความสะอาดกับทันตแพทย์ทั่วไปเป็นประจำทุก 6 เดือนหรือตามระยะเวลาที่เหมาะสม จะสามารถช่วยเพิ่มอายุการใช้งานให้กับรากฟันเทียม